ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์์

          ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์มีหลายชนิด ดังนี้
1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
3. มินิคอมพิวเตอร์
4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์
5. ไมโครคอมพิวเตอร์

ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)

          1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ความเร็วในการประมวลผลสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิจัย การพยากรณ์อากาศทั่วโลก การออกแบบเครื่องบิน งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน เป็นต้น

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

          2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจาก Super Computer สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน มีความเร็วสูง ส่วนมากนำไปใช้งานกับองค์กรขนาดใหญ่ เช่น ธนาคาร สายการบิน บริษัทประกันภัย มหาวิทยาลัย เป็นต้น

 

มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)

          3. มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Mini Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าไม่โครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกันกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์กรหลายประเภทนิยมนำมินิคอมพิวเตอร์มาใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น

เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer)

          4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ) เป็นต้น

          5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก หรือเรียกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ปัจจุบันเป็นประเภทที่นิยมนำมาใช้กันโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก นิยมใช้เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและสามารถนำไปใช้ในการทำงานเล็ก ๆ ได้ เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) คอมพิวเตอร์พกพา (Portable Computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                    5.1 คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ CP) ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษาและที่บ้าน

 

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)

                    5.2 คอมพิวเตอร์พกพา (Portable Computer) เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่
                              - Notebook Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีน้ำหนักประมาณ 2- 4 กิโลกรัม อุปกรณ์ประกอบด้วยแป้นพิมพ์ขนาดมาตรฐาน ปกติจะมีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ โดยเฉพาะในปัจจุบันจะมีเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอมด้วย

 

 

Notebook Computer

                              - Subnotebook Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค โดยทั่วไปมีน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม เพื่อเป็นการลดขนาดและน้ำหนักในบางเครื่อง Subnotebook จะไม่มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ และจะใช้การ์ดบันทึกสำหรับงานเฉพาะอย่างแทน

 

 

 

Subnotebook Computer

                              - Laptop Computer มีน้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คปกติ น้ำหนักอยู่ระหว่าง 4-7 กิโลกรัม ส่วนน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คมาจากน้ำหนักของฮาร์ดดิสก์และจอแสดงผลที่มีขนาดใหญ่กว่า

 

 

Laptop Computer

                              - Hand - Held Computer ออกแบบขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างและนิยมใช้สำหรับงานที่มีการเคลื่อนย้าย เช่น การนับจำนวนสินค้า เป็นต้น

 

Hand - Held Computer

                              - Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่นิยมใช้จัดการกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ ปฏิทินนัดหมายการประชุม ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ การบันทึกสิ่งจะต้องทำ เป็นต้น Palmtop ใช้แป้นพิมพ์ที่แตกต่างจากแป้นพิมพ์มาตรฐานและไม่มีฮาร์ดดิสก์สำหรับบันทึกข้อมูล

 

 

Palmtop Computer

                              - Pen Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่ใช้ปากกาเป็นอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ในบางครั้งก็จะใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลบนหน้าจอ และในบางครั้งอาจจะใช้ปากกานี้สำหรับเป็นอุปกรณ์เพื่อเลือกการทำงานบนจอภาพ ระบบปากกาหรือ Pen System นี้ใช้โปรแกรมพิเศษเฉพาะระบบ และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการพัฒนาคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เนื่องจากมีผู้ใช้อย่างกว้างขวาง Pen Computer ประเภทที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย คือ Personal Digital Assistant (PDA) หรือ Personal Communicator

 

Pen Computer

                              - คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์ แต่จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้น ๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกมส์ ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

 

 

 

 

ย้อนกลับ ถัดไป