ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ

[MS-DOS] [UNIX] [WINDOWS] [LINUX]

           ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์
             ในปัจจุบันนี้ ระบบปฏิบัติการบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยม จะแยกตามฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้เป็น 2 ระบบ
คือ ระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่อง ไอบีเอ็มพีซี (IBM personal Computer) หรือ เลียนแบบไอบีเอ็มพีซี (IBM PC Competible) และระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนเครื่องแมคอินทอช (Macintosh)
            โดยปกติแล้ว โปรแกรมประยุกต์ใด ๆ จะสามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรม
ไมโครซอฟต์เวิร์ดที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานบนเครื่องไอบีเอ็มพีซี ก็จะไม่สามารถนำไปใช้งานบนเครื่องแมคอินทอช เพราะเครื่องไอบีเอ็มพีซี จะนิยมใช้ระบบปฏิบัติการของไมโครซอฟต์ที่เรียกว่า เอ็มเอสดอส (MS - DOS) หรืออาจใช้ระบบที่ใหม่กว่า คือ
ไมโครซอฟต์วินโดว์ (Microsoft Windows) หรือระบบปฏิบัติการแบบเปิดในตระกูลยูนิกซ์ เช่น SCO UNIX หรือ LINUX ในขณะที่เครื่องแมคอินทอชใช้ระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า แมคอินทอชซิสเต็มเซเว่น (Macintosh System 7) ซึ่งออกแบบโดยบริษัทแอปเปิล การที่เครื่องสองชนิดใช้ระบบปฏิบัติการต่างกัน เนื่องมาจากมีหน่วยประมวลผลกลางไม่เหมือนกัน ผู้ที่จะผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์จะต้องเลือกที่จะผลิตซอฟต์แวร์ให้ใช้บนระบบใดระบบหนึ่ง หรือถ้าจะให้ใช้ได้บนระบบปฏิบัติการทั้งสองชนิด
ก็ต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาสองชุด โดยมากแล้วผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่สนใจว่าจะใช้ระบบปฏิบัติการใด แต่จะเลือกซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถทำงานให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามต้องการ แล้วจึงพิจารณาว่าซอฟต์แวร์นั้นทำงานบนระบบปฏิบัติการชนิดใด แต่ผู้ใช้บางกลุ่มก็เจาะจงเลือกใช้ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส เพราะมีซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เลือกใช้ได้มากมาย และผู้ใช้บางกลุ่มก็ต้องการใช้เครื่องแมคอินทอช เพราะมีระบบโต้ตอบผู้ใช้ที่ได้ง่ายและสวยงาม

ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส (MS - DOS)
      DOS ย่อมาจาก Disk Operating System  เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กันแพร่หลายบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์
มีขนาดไม่ใหญ่ สามารถบันทึกไว้บนแผ่นดิสก์ (Diskette) แล้วนำไปใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค. ศ. 1981 เรียกว่า PC-DOS ต่อมาบริษัท Microsoft ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไปและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น (Version) 1.0, 2.0, 3.0, 3.30, 4.0, 5.0, 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบนไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย เช่น มีหน่วยความจำและฮาร์ดดิสก์ความจุน้อย , Microprocessor รุ่นเก่า เป็นต้น
      ลักษณะการทำงาน DOS ทำงานติดต่อกับผู้ใช้แบบ Interactive Command คือผู้ใช้ต้องพิมพ์คำสั่งตามรูปแบบที่ DOS กำหนด ณ ตำแหน่งเครื่องหมายพร้อม(Prompt Sign) รอรับคำสั่งอยู่ ซึ่งมีเคอร์เซอร์(Cursor) บอกตำแหน่งที่พิมพ์
เมื่อพิมพ์คำสั่งเสร็จ ต้องกดแป้น Enter เพื่อส่งคำสั่งไปทำงาน จากนั้นก็จะได้ผลลัพธ์ของการทำงาน การควบคุมการใช้ DOS
ส่วนใหญ่ใช้แป้นพิมพ์เพื่อพิมพ์คำสั่ง ที่เป็นข้อความเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่าทำงานในรูปแบบ Mode Text บนบรรทัดคำสั่ง (Command Line)
      การจัดประเภท DOS จัดเป็น OS ประเภท Single-Tasking, Single-User และ Generic Operating Software และทำงาน
ในโหมดข้อความ (Text Mode) เป็นส่วนใหญ่


คำสั่ง DATE, TIME ใช้เพื่อแสดงวันเดือนปี และเวลาของระบบ แสดงได้ดังน

คำสั่ง DIR (Directory) ใช้เพื่อแสดงรายชื่อไฟล์(Filename) ใน Disk Drive หรือไดรฟ์ A: สามารถพิมพ์คำสั่งได้ดังนี้

          ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้มักจะมีฮาร์ดดิสก์ติดอยู่ด้วยเสมอ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ
ก็จะถูกเรียกจากฮาร์ดดิสก์มาไว้ในหน่วยความจำของเครื่อง เพื่อเตรียมที่จะใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ ขั้นตอนที่ย้ายระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำของเครื่องนั้นเรียกว่า การบูตระบบ (booting) หรือ บูตแสตป (bootstrap) ซึ่งมีขั้นตอนคือเมื่อเปิดสวิทช์
เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น โปรแกรมเล็ก ๆ ที่อยู่ในหน่วยความจำรอม (ROM) จะเรียกเอาส่วนประกอบพื้นฐานที่จำเป็นของระบบปฏิบัติการจากฮาร์ดดิสก์เข้ามาไว้ในหน่วยความจำหลัก ซึ่งจะได้ผลลัพธ์บนจอภาพเป็น C > หรือ C:\ > โดยที่หมายถึงดิสก์ไดรฟ์ที่ทำงานอยู่ และเครื่องหมาย > หมายถึง การเตรียมพร้อมที่จะทำงาน (prompt) จากนั้นผู้ใช้ก็จะสามารถพิมพ์คำสั่งของเอ็มเอสดอส
ได้ทันที

ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (UNIX)

        ยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการถูกพัฒนาขึ้นในปี1969 โดยบริษัท AT&Tเพื่อใช้กับ
เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่มจะถูกใช้ในงานวิจัยต่อมาไดถูกใช้ทางธุรกิจ
        ยูนิกส์ เป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษาซีมี คุณสมบัติที่เด่นกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ คือการไม่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์  ดังนั้นจึงสามารถยูนิกส์ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท
        ยูนิกส์ เป็นระบบ ปฏิบัติการที่สามารถใช้งานได้หลายงานได้หลายงานพร้อมกัน
และทำงานได้หลาย ๆ งาน ในเวลาเดียวกันและเป็นระบบปฏิบัติการที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรม
ที่ช่วยให้อำนวยความสะดวก โครงสร้างระบบไฟล์ยังเหมือนกับระบบปฏิบัติการดอสแต่คำสั่งอาจ
แตกต่างกันไป
ข้อด้อยของยูนิกส์ คือ ผู้ใช้ส่วนใหญ่จะต้องจดจำคำสั่งของยูนิกส์ซึ่งค่อนข้างยาก แต่ในปัจจุบันได้พัฒนาไปเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะเป็น GUI ช่วยให้การใช้งานยูนิกส์ง่ายมากขึ้น

ลักษณะอื่น ๆ ของยูนิกส์
      ยูนิกส์มีโปรแกรมอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัวมันเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์  คอมไพเลอร์ภาษาต่าง ๆ เกมส์ และอื่น ๆ อีกมากมาย  นอกจากนี้ยังมีความสามารถทางด้านการสื่อสารข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั้งในระบบเดียวกันหรือต่างระบบกันทั้งไกลและใกล้
โครงสร้างยูนิกส์
      ยูนิกส์แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้ 2 ส่วน คือ เซลล์ (shell) และเคอร์แนล (kernel) เซลล์เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้โดยตรงส่งพร้อมขึ้นที่หน้าจอ รอรับงานจากผู้ใช้ แปลความหมายงานนั้นและเรียบเรียงให้เคอร์แนลท์ทำงานให้
ระบบไฟล์  ไฟล์ ในยูนิกส์แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ ไฟล์ธรรมดา ไฟล์พิเศษและไฟล์ไดเร็กทอรี่ ไฟล์ธรมมดาเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลทั่วไปยูนิกส์จะมองว่า
       1.ไฟล์ธรรมดา คือ กลุ่มของข้อมูลหลายๆไบต์เรียงต่อกันไม่มีโครงสร้างของข้อมูลใดๆ เช่นไฟล์ข้อมูล ไฟล์โปรแกรม เป็นต้น การที่ยูนิกส์มองไฟล์เป็ยกลุ่มของไบต์ที่ไม่มีโครงสร้างข้อมูลนี้ สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานของโปรแกรมต่างๆที่ต้องการเก็บข้อมูลไว้ในไฟล์ ต้องการจัดเรื่องโครงสร้างข้อมูลเอาเองทั้งหมด โปรแกรมจึงมีอิสระในการจัดโครงสร้างข้อมูลไฟล์ได้อย่างเต็มที่
      2.ไฟล์ พิเศษ คือ ไฟล์ที่สามารถอ้างอิงไปถึงอุปกรณ์ต่างๆในระบบเป็นไฟล์ เช่น เครื่องพิมพ์ 1 เคื่องเป็น 1ไฟล์ จอภาพ 1 จอภาพเป็น1ไฟล์ไฟล์เหล่านี้จะติดต่อกับตัวขับอุปกรณ์นั้นๆดังนั้นการที่จะ ส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลผ่านทางไฟล์ของอุปกรณ์นั้นๆซึ่งจะเกิดผลดีในแง่ของ การถ่ายเทข้อมูลชองโปรเซสต่างๆ
      3.ไฟล์ไดเร็กทอรี่ คือไฟล์ที่ยูนิกส์กำหนดโครงสร้างข้อมูลไว้ให้โดยมีโครงสร้างเป็นไดเร็กทอรี่ ของระบบคือ ข้อมูล1ตัวจะประกอบด้วยชื่อไฟล์และหมายเลขไอโหนด ไดเร็กทอรี่สามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยไดเร็กทอรี่และไฟล์ที่เก็บรวมอยู่ ในดิสก์หรืออุปกรณ์อื่นๆที่ไม่ได้เป็นไดเร็กทอรี่เดียวกันของยูนิกส์ สามารถนำมาต่อเชื่อมโยงเข้ากับไดเร็กทอรี่ของระบบเป็นไดเร็กทอรี่ย่อยหนึ่ง ได้ โดยยูนิกส์มีคำสั่งพิเศษคือคำสั่ง mount เพื่อใช้เชื่อมโยงไดเร็กทอรี่อื่นเข้ากับของระบบและทำนองเดียวกัน unmount ก็เป็นคำสั่งตัดไดเร็กทอรี่ย่อยออกจากระบบ

ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดว์

     ไมโครซอฟต์วินโดว์ หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า วินโดว์ มีระบบการติดต่อกับผู้ใช้เป็นแบบกราฟิกที่มีสีสันสวยงามและสามารถใช้ได้ง่าย เรียกระบบที่ติดต่อกับผู้ใช้ลักษณะนี้ว่า GUI (Graphic user Interface) ซึ่งผู้ใช้บนระบบวินโดว์จะทำงานกับเมนู (menu)และรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน (icon) แทนที่จะเป็นการพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ
      บบวินโดว์มีข้อดี คือ เอื้ออำนวยให้ผู้ใช้สามารถทำงานได้ง่าย โดยการแสดงภาพกราฟฟิกบนจอภาพ เมื่อผู้ใช้เปิดเครื่องขึ้นมา และผู้ใช้สามารถใช้เมาส์ในการชี้และคลิกที่ภาพเพื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่ต้องการ แทนที่จะต้องพิมพ์คำสั่งเช่นเดียวกับระบบดอส ดังนั้นระบบวินโดว์จึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง และได้มีการพัฒนาเป็นเวอร์ชันใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง นับจาก Windows 3.0 , Window for Workgroup ซึ่งเป็น cooperative multitasking จนมาถึง Windows 95 ซึ่งเป็น preenptive multitasking และ Windows NT ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบ Client/Server

ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ (Linux)

       ระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการแบบ ๓๒  บิต  ที่พัฒนาขึ้นมาให้คล้ายระบบปฏิบัติการยูนิกซ์  แต่สามารถทำงานได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  กล่าวคือ  สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายๆ คน  และผู้ใช้แต่ละคนทำงาน ได้หลาย ๆ งานพร้อมกัน  รวมทั้งมีความสามารถในการทำงานทั้งในรูปแบบเทกซ์ (text)  และกราฟิก
       ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ที่แท้จริงนั้นมีเพียงตัวแกนกลางของระบบ  (Kernel)  เท่านั้น  ที่เป็นตัวควบคุมการทำงานและจัดสรรทรัพยากรในระบบ  เช่น  หน่วยประมวลผลกลาง  หน่วยความจำ  การจัดการไฟล์และอุปกรณ์  เป็นต้น  แต่เรามักจะเรียกโปรแกรมประยุกต์เพิ่มเติมอื่นๆ ที่เข้ามารวมอยู่ทั้งหมดว่า  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์                               นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ที่สามารถใช้งานเพิ่มเติมบนระบบปฏิบัติการลิ นุกซ์ได้  เช่น โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ  ซึ่งสามารถทำงานได้ตั้งแต่ตารางคำนวณ  โปรแกรมประมวลผลคำฐานข้อมูล  โปรแกรมนำเสนอข้อมูล  เช่นเดียวกับ โปรแกรมบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์

จุดเด่นของระบบปฏิบัติการลินุกซ์  คือระบบปฏิบัติการลินุกซ์เป็นโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้กรอบกติกาที่เรียกว่า  General  Public  License  หรือเรียกย่อว่า  GPL  กล่าวคือ  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ จะเปิดเผยซอร์สโคด  (Source  Code)  สำหรับผู้ที่ต้องการจะนำไปพัฒนาต่อ  แต่ผู้ที่นำไปพัฒนาต่อแล้วนั้นจะต้องเปิดเผยซอร์สโคด  เพื่อให้ผู้อื่นนำไปใช้งานได้ต่อไปอีกด้วย  ลินุกซ์จึงเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานได้ฟรี  สามารถทำงานได้รวดเร็ว  แม้ว่าจะทำงานได้หลายๆ อย่างในเวลาเดียวกันเพราะระบบปฏิบัติการลินุกซ์ได้รับการออกแบบให้ใช้งาน อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ทุกอย่างของเครื่องอย่างเต็มประสิทธิภาพ  ไม่ว่าจะเป็นการจัดการหน่วยความจำเสมือน  (Virtual  Memory)  การจัดการทำงานแบบหลายๆ งานพร้อมๆ กัน (Multitasking)การใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการดอสและระบบปฏิบัติการวิ นโดวส์  และความสามารถในการใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกับระบบปฏิบัติการอื่นๆ ได้
          ความต้องการทรัพยากรของระบบขั้นต่ำที่ลินุกซ์สามารถทำได้คือ  เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีหน่วยประมวลผลกลาง รุ่น ๘๐๓๘๖/sx  หน่วยความจำ ๔ เมกะไบต์  ฟล็อปปีดิสก์ ขนาด  ๑.๔๔  หรือ  ๑.๒  เมกะไบต์  จอภาพแบบ  โมโนโครม  ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย  ๕๐๐  เมกะไบต์ แต่ถ้าต้องการเล่นกราฟิกโดยใช้  X  Window ควรมีหน่วยความจำตั้งแต่  ๘-๑๖  เมกะไบต์ขึ้นไป
          นับตั้งแต่โปรแกรมวินโดวส์  ๓.๑๑  ที่ต่อมาได้พัฒนาเพิ่มเติมเป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์  ๙๕  จนถึงระบบปฏิบัติการวินโดวส์  ๙๘ และรุ่นล่าสุดคือ  ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ๒๐๐๐  ระบบปฏิบัติการลินุกซ์ถือได้ว่า  เป็นระบบของคนรุ่นใหม่  ที่พัฒนาขึ้นมาโดยศึกษาในยุคอินเทอร์เน็ต  มีการเผยแพร่และเติบโตผ่านทางอินเทอร์เน็ตมาเป็นเวลานาน  ตั้งแต่  พ.ศ.  ๒๕๓๔  จนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในปัจจุบัน

ตาราง สรุปการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของระบบปฏิบัติการ DOS, Windows'95, Unix

ระบบปฏิบัติการ : OS

ข้อดี

ข้อเสีย

Disk Operating System : DOS

- ใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้ทั่วไปทั้ง รุ่นเก่าและรุ่นใหม่
- มีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานจำนวนมาก
- ไม่ต้องการคุณสมบัติของฮาร์ดแวร์สูงมากนัก
- ง่ายต่อการติดตั้งและการจัดการโดยผู้ใช้

- โปรแกรมประยุกต์มีต้องมีขนาดเล็ก ใช้หน่วยความจำไม่เกิน 640 KB.
- เป็นระบบงานเดียว (Single Tasking)
- ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยตัวอักษรบนCommand Line

Windows'95 ,Windows98 , Windows2000me

- สนับสนุน Multitasking
- ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยภาพแบบ Graphic User Interface : GUI
- อ้างอิงถึงหน่วยความจำได้มากกว่า 640 KB.
- มีโปรแกรมยุกต์ใช้งานมาก

- ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรประสิทธิภาพสูง
- มีความยุ่งยากในการจัดการระบบ
มากกว่าระบบ DOS

WindowsNT

- เป็นระบบ Multitasking
- ติดต่อกับผู้ใช้ด้วยภาพแบบ Graphic User Interface : GUI
- ใช้จัดการระบบคอมพิวเตอร์แบบเครื่องเดียว (Stand Alone) และคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server) ได้

- ต้องการคอมพิวเตอร์ที่มีทรัพยากรและมีประสิทธิภาพสูงในระบบ
เครือข่าย

 

Unix

- เป็นระบบ Multitasking
- เป็นระบบ Multiusers
- อนุญาตให้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์แตกต่างกันได้

- มีโปรแกรมประยุกต์ใช้งานทางด้านธุรกิจน้อย
- ไม่มี Unix รุ่นที่เป็นมาตรฐาน
- ติดต่อผู้ใช้ด้วยข้อความ ต้องพิมพ์คำสั่งที่ยากต่อการจดจำของผู้ใช้


ที่มา : http://www.school.net.th/library/
http://www.chakkham.ac.th/
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท

           

   
   


เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี  บนความละเอียด  800x600  Text Size Medium
เว็บไซต์นี้จัดทำเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 42 (คอมพิวเตอร์)