จากอดีตสู่ปัจจุบันของคอมพิวเตอร์
|
|
|
|
|
|
|
|
ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง
เรียกว่า
ลูกคิด

- พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's
Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน 
- พ.ศ. 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Blaise Pascal ได้อกแบบเครื่องมือช่วยในการคำนวณโดยใช้หลักกาหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ
1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ
1 ส่วน 10 รอบ เช่นเดียวกับการทดเลขสำหรับผลการคำนวณจะไดที่ช่องบน
และได้ถูกเผยแพรออกสู่
สาธารณชนเมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไมประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เครื่องมือนสามารถใช้ได้ดีในการคำนวณบวก
และลบ
เท่านั้น ส่วนการคูณและหารยังไม่เท่าไร 

- พ.ศ.2214 กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )
นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม
และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number)
- ในปี 2216 นักปรัชญาชาวเยอรมันชื่อ Gottfried Wilhelm Baronvon Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่องคำนวณของปาสคาล
ซึ่งใช้การบวกซ้ำ ๆ กันแทนการคูณเลข จึงทำให้สามารถทำการคูณและหารได้โดยตรง ซึ่งอาศัยการหมุนวงล้อของเครื่องเอง ครื่องคิดเลขที่ไลบนิซ สร้างขึ้นเรียกว่า
Leibniz's Stepped และยังค้นพบเลขฐานสอง
(Binary Number) คือ เลข 0 และ เลข 1 ซึ่งเป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ 
- พ.ศ 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ
Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้า
โดยใช้บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่งควบคุมเครื่องทอผ้า
ให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นแนวทาง
ที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร
(Punched Card Machine) ในเวลาต่อมา และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้ชุดคำสั่ง (Program) สั่งทำงานเป็นเครื่องแรก
- พ.ศ. 2373 Charles Babbage ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษ ได้สร้างเครื่องหาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณและพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์อย่างอัตโนมัติ
แต่ก็ไม่สำเร็จตามแนวคิด
ด้วยข้อจำกัดทางด้านวิศวกรรมในสมัยนั้น แต่ได้พัฒนาเครื่องมือชนิดหนึ่ง เรียกว่า เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) เครื่องนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ
4 ส่วน คือ
1.
ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
2.
ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
3.
ส่วนควบคุม
เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูลและส่วนประมวลผล
4.
ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บข้อมูลและแสดงผลลัพธ์
ที่ได้จากการคำนวณด้วยเครื่องวิเคราะห์นี้ เครื่องวิเคราห์มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่องใหเป็น "บิดาแห่งคอมพิวเตอร์"
ภาพ เครื่องหาผลต่าง (Difference Engine)
- พ.ศ.2393 ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมาย
ในทางตรรกะพื้นฐานได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
- พ.ศ.2480-2481 ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry)
ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรก
ที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ภาพ เครื่องคำนวณขนาดเล็กที่ใช้หลอดสุญญากาศ
-
พ.ศ.2487 ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม
ได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จ แ ต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้า
ขนาดใหญ่เท่า นั้น
-พ.ศ.2485-2495 มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่ง
ลงใน
บัตรเจาะรู
ภาพ เครื่อง ENIAC(Electronic Numerical Intergrater and Calculator)
- พ.ศ. 2492 Dr. John Von Neumann ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้สำเร็จ
เครื่องคอมพิวเตอร์
ที่ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวคิดนี้ได้แก่
EDVAC (Electronic Discrete
Variable Automatic Computer) และนำมาใช้งานจริงในปี
2494
และในเวลาเดียวกันมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์ในลักษณะคล้ายกับเครื่อง
EDVAC นี้ และให้ชื่อว่า EDSAC
(Electronic Delay
Strorage Automatic Calculator) มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ
EDVAC คือเก็บโปรแกรมไว้ในหน่วยความจำ
แต่มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างออกไปคือ
ใช้เทปแม่เหล็กในการบันทึกข้อมูล
ต่อมาศาสตราจารย์แอคเคิทและมอชลีได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์อีก
ชื่อว่า UNIVAC I (Universal Automatic Calculator) ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อขายหรือเช่า
เป็นเครื่องแรก
ที่ออกสู่ตลาดซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์ขยายตัวออกไปในภาคเอกชน
และเริ่มมีการซื้อขายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
และพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
พัฒนาการของคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน

ลูกคิด
คอมพิวเตอร์ Mark I คอมพิวเตอร์ IBM
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน
ที่มา : http://www.school.net.th/library/
http://www.chakkham.ac.th/
http://www.piacec.moe.go.th
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท

