1. จอภาพ (Monitor)

           จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผลมาแสดงเป็นภาพบนจอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen (จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT (moniter ทั่วไป) หรือ LCD
(จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้าและปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่าจอปกติพอสมควร ทำให้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ ในอนาคตการที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่งที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ

        จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใด โดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมด
ความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้ว จอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี
จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216 สี จะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงานตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง

           LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว
คือว่าเมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิดการจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลวเหมือนเดิม
        สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของ
เครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม) รวมไปถึง
ก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ CRT (Cathode-ray tube) ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว
ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ
             - Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
             - Thin Flim Transistor (TFT)

       จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่ามอนิเตอร์แบบ LCD ปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบ CRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN

เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
 
LCD
CRT
  • พื้นที่ในการแสดงผล
    ดีกว่ามากเมื่อเทียบขนาดเดียวกัน
  • มุมมอง
    มีแค่ 49-100 องศา
    มีมุมมองกว้างถึง >190 องศา
  • ความสว่าง
    สบายตา
    สว่างมาก (แสบตาถ้าต้องเพ่งนานๆ)
  • อัตราการรีเฟรชของภาพ
    แบบ(TFT)ใกล้เคียง CRT
    มีอัตราเร็วที่สุด
  • การใช้พลังงาน
    ประหยัด
    กินไฟ
  • การแผ่รังสี
  • มีอัตราการแผ่รังสี =0
    มีการแผ่รังสี
  • พื้นที่ในการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่น้อยนิด
    ใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า
  • อายุการใช้งาน
  • ประมาณ 6.85 ปี (2,500วัน)
    6-8 ปี

    ข้อควรจำ
                 ใครที่ชอบเปิดคอมพิวเตอร์ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ลำแสงอิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้
    เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอเสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียว


    ที่มา : http://www.school.net.th/library/
    http://www.chakkham.ac.th/technology/computer1/
    หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท.

       
       


    เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี  บนความละเอียด  800x600  Text Size Medium
    เว็บไซต์นี้จัดทำเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 42 (คอมพิวเตอร์)