โพรโทคอล   (protocol)
             

         โพรโทคอล หรือ โพรโตคอล (communications protocol) หรือชื่อไทยว่า
เกณฑ์วิธีการสื่อสาร หรือ เกณฑ์วิธีข่ายงาน คือข้อกำหนดหรือข้อตกลงที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้

             โพรโทคอลอินเทอร์เน็ต (ไอพี) (Internet Protocol: IP) เป็นโพรโทคอลที่ใช้ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย ไอพีเป็นโพรโทคอลที่เป็นรากฐานสำคัญของอินเทอร์เน็ต มักกล่าวคู่กับ Transmission Control Protocol ในชื่อ TCP/IP การทำงานของไอพีเป็นการทำงานแบบไม่รับประกันความถูกต้อง ของข้อมูลรุ่นปัจจุบันคือ IPv4 และกำลังอยู่ในช่วงผลักดันให้ใช้ IPv6
            ชุดโพรโทคอลต่อไปนี้ คือชุดโพรโทคอลสำคัญซึ่งใช้เป็นต้นแบบในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้:
            1. มาตรฐานเปิด
                    - Internet protocol suite
                    - Open Systems Interconection (OSI)
            2. มาตรฐานปิด
                    -  AppleTalk
                    -  DECnet
                    - IPX/SPX
                    - SMB
                    - Systems Network Architecture (SNA)
                    - Distributed Systems Architecture (DSA)

             โพรโทคอลที่สำคัญ
                    - HTTP (Hyper Text Transfer Protocol)
                    - POP3 (Post Office Protocol 3).
                    - SMTP (Simple Mail Transfer Protocol).
                    - FTP (File Transfer Protocol).
                    - IP (Internet Protocol).

                DHCP (Dynamic Host Configuration Protocol).
                MAP (Internet Message Access Protocol).

                สำหรับในเครือข่าย โพรโทคอลจะเป็นตัวกำหนดคุณลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแทนข้อมูล วิธีการในการรับ - ส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณการรับ - ส่ง อุปกรณ์หรือสื่อกลางในการส่งข้อมูล การกำหนดหรือการอ้างอิงตำแหน่ง การตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูล รวมถึงความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล และด้วยความสำคัญนี้ องค์การที่ว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ จึงได้กำหนดโพรโทคอลที่เรียกว่า มาตรฐานการจัดระบบการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างระบบเปิด (Open System Interconnection : OSI) ระบบดังกล่าวแบ่งชั้นการทำงานของเครือข่ายออกเป็น 7 ชั้น ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิดในการสร้างเครือข่ายเพื่อจัดแบ่งการดำเนินงานพื้นฐาน ของเครือข่ายออกเป็นงานย่อย ทำให้การออกแบบและใช้งานเครือข่าย รวมทั้งการติดต่อเชื่อมโยงเป็นไปด้วยความสะดวก มีวิธีปฏิบัติในกรอบเดียวกัน

                การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยฝ่ายผู้ส่งและผู้รับ และจะเริ่มด้วยฝ่ายผู้ส่งต้องการส่งข้อมูลข่าวสารโดยผ่านชั้นมาตรฐาน 7 ชั้น เรียงตามลำดับดังนี้
                     1) ชั้นการประยุกต์  (application layer) เป็นส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของเครือข่ายกับผู้ใช้ โดยคอมพิวเตอร์ จะแปลงข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้เข้าสู่ระบบ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล
                    2) ชั้นการนำเสนอ (presentation layer) ซึ่งจะแปลงข้อมูลที่ส่งมาให้อยู่ในรูปแบบที่โปรแกรมของเครื่องผู้รับเข้าใจ รวมทั้งการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูล โดยกำหนดรูปแบบภาษา ชนิด และวิธีการเข้าถึงข้อมูลของเครื่องผู้ส่งให้เครื่องผู้รับเข้าใจ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมุล
                    3) ชั้นส่วนงาน (session layer) ทำหน้าที่สร้างการติดต่อระหว่างเครืองต้นทางและปลายทาง ตลอดจนดูแลการส่งข้อมูล ระหว่างเครื่องทั้งสองให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดขอบเขตการรับ - ส่ง คือกำหนดจุดผู้รับและผู้ส่งโดยจะเพิ่มเติม รูปแบบการรับ - ส่งข้อมูลว่าเป็นแบบข้อมูลชุดเดียว หรือหลายชุดพร้อม ๆ กัน เช่น โมดูล (module)  ของการนำเสนอผ่านเว็บ
                   4) ชั้นขนส่ง (transport layer) เป็นชั้นของการตรวจสอบและควบคุมการส่งข้อมุลระหว่างเครื่องต้นทางและเครื่องปลายทาง ให้ถูกต้อง
                   5) ชั้นเครือข่าย (network layer) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งผ่านข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางโดยผ่านจุดต่าง ๆ บนเครือข่ายให้เป็นไปตามเส้นทางที่กำหนด รวบรวมและแยกแยะข้อมูลเพื่อหาเส้นทางในการส่งข้อมูลที่เหมาะสม
                   6) ชั้นเชื่อมโยงข้อมูล (datalink layer) ทำหน้าที่เหมือนเป็นผู้บริการส่งข้อมูล กล่าวคือ ส่งข้อมูลผ่านทางสายส่ง โดยมีกระบวนการตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลอันเนื่องมาจากสัญญาณรบกวนที่เกิดในสายส่ง รวมทั้งมีการแก้ไข ความผิดพลาดดังกล่าวด้วย เป็นชั้นที่ควบคุมความถูกต้องระหว่างการส่งข้อมูลระหว่างจุด (node) 2 จุดที่อยู่ติดกันในเครือข่าย
                  7) ชั้นกายภาพ (physical layer) ซึ่งจะทำหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปขแงสัญญาณดิจิทัลให้ผ่านตัวกลางแต่ละชนิดได้

                 เมื่อข้อมูลผ่านขั้นตอนทั้ง 7 แล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ในส่วนที่ทำหน้าที่ดูแลการจราจรบนเครือข่าย เพื่อส่งไปยังเครื่องผู้รับซึ่งต้องผ่านชั้นมาตรฐานทั้ง 7 เช่นกัน แต่จะเป็นไปในทางตรงข้าม


ที่มา : http://www.school.net.th/library/
http://www.chakkham.ac.th/
http://th.wikipedia.org/wiki/
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ของ สสวท

           

   
   


เว็บไซต์นี้แสดงผลได้ดี  บนความละเอียด  800x600  Text Size Medium
เว็บไซต์นี้จัดทำเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 42 (คอมพิวเตอร์)